หาคำตอบ ถนนพัง เจอหลุม เจอบ่อ ต้องแจ้งหน่วยงานไหนให้มารับผิดชอบ?

Free Orange and White Traffic Pole on Cracked Gray Asphalt Road Stock Photo

ขับรถอยู่ดีๆ ก็เกิดอุบัติเหตุแบบไม่คาดฝันได้! โดยเฉพาะหน้าฝนแบบนี้ยิ่งเสี่ยงต่อการเจอถนนในสภาพไม่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นถนนพัง เจอหลุม เจอบ่อ จนทำให้ไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้แบบปกติ เพื่อที่จะผ่านจากเหตุการณ์เหล่านี้ได้ เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าต้องแจ้งหน่วยงานไหนให้มารับผิดชอบ แล้วอะไรคือตัวช่วยในสถานการณ์ผิดปกติแบบนี้!?

ถนนพัง เจอหลุม เจอบ่อ ต้องแจ้งหน่วยงานใด?

หากว่ากันตามกฎหมายแล้ว รัฐบาลจะต้องคอยดูแลบำรุงรักษาถนนให้ประชาชนอย่างเราใช้งานได้ตามปกติ ดังนั้นถ้าหากขับๆ ไปแล้วเจอถนนพัง เจอหลุม เจอบ่อ คุณก็จะสามารถโทรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบถนนเส้นนั้นๆ ได้ ปัจจุบันประเทศไทยแบ่งถนนออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งแต่ละเส้นก็จะมีหน่วยงานรับผิดชอบแตกต่างกันดังนี้

  1. ทางหลวงพิเศษ

ทางหลวงพิเศษมีเพื่อให้การจราจรสามารถผ่านได้อย่างรวดเร็ว หลักๆ แล้วจะมี “กรมทางหลวง” คอยดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษาถนนที่พัง อย่างไรก็ตามเส้นที่หลายคนเรียกกันจนติดปากว่าทางด่วนก็ถือว่าทางหลวงพิเศษอีกเส้นหนึ่งเช่นกัน แต่จะถูกดูแลโดย “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย” แทน มีให้บริการเส้นทางครอบคลุมทั่วกทม. และปริมณฑล มีแอปพลิเคชัน EXAT Portal ให้ประชาชนดาวน์โหลดมาใช้งาน หรือจะดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยงานนี้ได้ที่ https://www.exat.co.th/home/ และติดต่อได้ที่เบอร์ 1543
และถ้าหากคุณเจอถนนพังในแถบมอเตอร์เวย์ บอกเลยว่านี่ก็เป็นถนนอีกเส้นหนึ่งในประเภททางหลวงพิเศษนี้ แต่มีหน่วยงานอย่าง “กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง” เข้ามาดูแลโดยเฉพาะ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 1586

  1. ทางหลวงแผ่นดิน

หากคุณเจอปัญหาถนนพังที่ถนนสายหลักอย่างทางหลวงแผ่นดิน สามารถแจ้งไปที่ “กรมทางหลวง” ได้เลย สำหรับถนนเส้นนี้จะเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างภาคต่างๆ จังหวัดและอำเภอของประเทศไทยเอาไว้ แบ่งเป็น 4 สายหลักๆ คือ

  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท)
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
  1. ทางหลวงชนบท

สำหรับเส้นที่ 3 อย่างทางหลวงชนบทนี้จะมี “กรมทางหลวงชนบท” เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 02-551-5000 หรือสายด่วน 1146 ทางหลวงชนบทแต่ละสายจะมีรหัสเป็นของตัวเอง ดูได้จากป้าย มีองค์ประกอบหลักๆ 2 ส่วนคือ

  • อักษรย่อของจังหวัด 2 ตัว เช่น บร ย่อมาจากจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
  • ตัวเลข 4 ตัว ที่บ่งบอกว่าแต่ละสายเชื่อมโยงกันอย่างไร เป็นหมายเลข 1 – 6 ที่มีความหมายแตกต่างกัน
  1. ทางหลวงท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ดูแลทางหลวงท้องถิ่นต่างๆ แต่ถ้าหากเจอถนนพังและต้องการดูว่าถนนเส้นนั้นมีผู้ใดเป็นคนรับผิดชอบจะต้องทำการอ่านป้ายทางหลวงท้องถิ่นเสียก่อน ประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ

  • อักษรย่อของจังหวัดและตัวถ. เช่น ปท.ถ แปลว่าทางหลวงท้องถิ่นในพื้นที่จ.ปทุมธานี
  • หมายเลขส่วนแรก 1,2 หรือ 3 แสดงลำดับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดและตัวเลขส่วนหลังแสดงถึงลำดับของสายหรือถนนที่ลงทะเบียนเอาไว้
  1. ทางหลวงสัมปทาน

ทางหลวงสัมปทานเป็นทางหลวงประเภทสุดท้ายในประเทศไทย หมายถึงทางหลวงที่รัฐบาลได้สัมปทานตามกฎหมาย ปัจจุบันมีเพียง 1 สายเท่านั้นคือ ทางยกระดับบนถนนวิภาวดีรังสิต หากเจอถนนพังที่ส่วนนี้สามารถติดต่อได้ที่ ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

อัปเดตช่องทางการแจ้งสำหรับบริเวณกรุงเทพฯ

ปัจจุบันบริเวณกรุงเทพฯ หากคุณเจอถนนพังหรือปัญหาอื่นๆ ยังสามารถแจ้งผ่านแอป Traffic Fondue ได้อีกด้วย แต่ถ้าหากใครต้องการตัวช่วยที่เหมือนกับการมีผู้ช่วยส่วนตัวอยู่ใกล้ๆ ประกันรถยนต์ก็เป็นคำตอบที่ใช่ เพราะคุณสามารถเรียกเคลมประกันเมื่อเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุต่างๆ ได้ทันที หมดกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกินหากคุณเลือกกรมธรรม์ที่ครอบคลุมทุกเหตุการณ์ สามารถเข้ามาหาข้อมูลแผนประกันรถยนต์ที่โดนใจได้ที่ Rabbit care แพลตฟอร์มที่รวบรวมแผนประกันรถยนต์ทุกระดับเอาไว้ให้คุณเรียบร้อย สามารถเปรียบเทียบประกันแผนต่างๆ ได้ภายใน 30 วินาที พร้อมบริการสุดพิเศษจากเรา จ่ายง่าย ดำเนินการไว ช่วยให้คุณได้รับความปลอดภัยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รายละเอียดเพิ่มเติม https://rabbitcare.com/car-insurance ตลอด 24 ชั่วโมง